วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คนมีน้ำยา

น้ำยาล้างจาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจาน เนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม

ข้อเสียของน้ำยาล้างจาน

ฟองของน้ำยาล้างจานเป็นสิ่งปิดกั้นบนผิวน้ำ ทำให้ออกซิเจนในอากาศละลายน้ำไม่ได้ และกั้นไม่ให้แสงอาทิตย์ส่องลงไปใต้ผิวน้ำ พืชน้ำก็จะไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ เมื่อสิ่งมีชีวิตในน้ำขาดออกซิเจนก็จะตายลง และเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงจะส่งผลทำให้น้ำเน่าเสีย นอกจากนั้น สารเคมีบางชนิดในน้ำยาล้างจานอาจเป็นอันตรายกับทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำ และยังอาจทำให้ผิวของเราระคายเคืองบ้างเล็กน้อย

การทำน้ำยาล้างจาน PDF Print E-mail
Written by อุไร เชื้อเย็น   
Friday, 19 March 2010 08:35
น้ำยาล้างจาน
ส่วนประกอบ
1. หัวแชมพู (emal 28 ctn ) หรือ N70           1        กก.
2. สารขจัดคราบ (neopelelex f-24)               1.25  กก.
3. สารชำระล้างถนอมมือ (amphitol 55 ab)    100   กรัม
4. หัวน้ำหอม                                                     8       กรัม
5. น้ำสะอาด                                                       5      ลิตร
อุปกรณ์ที่ใช้
1. ถังน้ำขนาด                                                     10     ลิตร
2. ไม้สำหรับกวนน้ำยาให้เข้ากัน
3. ขวดน้ำเปล่าขนาดประมาณ 500 cc จำนวน 15 ขวด สำหรับใส่น้ำยา
วิธีทำ
1. นำหัวแชมพู emal 28 ctn ผสมกับ สารขจัดคราบ (neopelelex f-24) กวนให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยเติมน้ำสอาดทีละน้อยจนครบ 5 ลิตร กวนให้เข้ากัน
2. เติมสารชำระล้างถนอมมือ (amphitol 55 ab) ในส่วนผสมข้อที่ 1 กวนให้เข้ากัน (กวนช้า ๆ เพราะจะเกิดฟองมาก
3. เมื่อกวนเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว นำสารกันเสียและหัวน้ำหอม (น้ำหอมกลิ่นมะนาวหรือกลิ่นอื่นที่ชอบ) เติมลงไปกวนให้เข้ากัน
หมายเหตุ
ราคาชุดละ  130 บาท หาซื้อได้ที่ร้านศรีสำอาง หรือร้านฮงฮวด ใกล้สี่แยกวัดตึก (วัดชัยชนะสงคราม) ใกล้คลองถม สำเพ็ง นั่งรถสาย 8 หรือ ปอ.พ. 8 จากหน้าสวนจตุจักร
หรือซื้อได้ที่ บริษัทฮงฮวด จำกัด (สาขาจตุจักร) ชั้น 2 เลขที่ S39 อาคาร เจ.เจ.มอลล์ ถ.กำแพงเพชร แขวงจตุจักร เขตจตุจักร

น้ำยาล้างจาน






น้ำยาล้างจาน สูตรสมุนไพร ชวนมาทำน้ำยาล้างจานไว้ใช้เองกันค่ะ
น้ำยาล้างจานสูตรนี้ได้มาจากพี่ที่เคารพรักท่านหนึ่ง
ทำใช้เองมา 2-3 ปีแล้วค่ะและคงไม่ซื้อใช้ไปตลอด
สูตรนี้จะเรียกว่าน้ำยาล้างจานสมุนไพรก็คงจะได้
เพราะส่วนผสมหลักๆเป็นสมุนไพรไทยที่เราหาได้จากครัวเรือนหรือตลาดทั่วไป
ถึงแม้ว่าเราจะยังตัดขาดสารเคมีไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็ถือว่าลดลงได้ในระดับหนึ่งค่ะ

น้ำยาล้างจานทั่วไปที่เราซื้อใช้ก็จะประกอบด้วยสารซักล้าง
สารเพิ่มฟอง สารกันบูด สีและกลิ่น ซึ่งเป็นสารเคมีล้วนๆ
จะเห็นได้ว่าบางคนใช้แล้วมืออันสวยงามของสาวๆเราแห้งแตกระแหง
บางคนก็ลอกเป็นขุยๆ เพราะแพ้สารเคมีเหล่านั้น
นอกจากนี้ยังทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วยค่ะ

สูตรที่เราจะทำนี่ใช้เพียงหัวแชมพูเพื่อให้เกิดฟองเท่านั้นค่ะ
เพราะเราคงยังทำใจไม่ได้ที่จะล้างจานโดยไม่มีฟองเลย
และหัวแชมพูนี้ก็ยังมีส่วนช่วยในการลดคราบมันพอสมควร

มาดูส่วนผสม น้ำยาล้างจาน กันค่ะ

มะกรูด 10 ลูกใหญ่
ใบชาจีน 25 กรัม
มะขามเปียก 1 ปั้น
Emal 28 CTN 1 กก. (หัวแชมพูใส)
เกลือประมาณ 90 กรัม
น้ำ 2.5 กก.


มะกรูดล้างให้สะอาดหั่นเป็นแว่นๆ
มะขามเปียก ฉีกออกจากปั้น (ไม่มีรูปนะคะ ลืมถ่ายไว้)
ทั้งสองอย่างนี้ช่วยขจัดคราบได้ดี




ใบชาจีน ไม่ต้องซื้ออย่างดีหรอกค่ะ ซื้อตราสามม้าที่เป็นห่อๆแบบถูกๆก็พอเพราะเราใช้แค่คุณสมบัติของชาเท่านั้นคือช่วยดับกลิ่นคาวและคราบไขมันต่างๆได้




หัวแชมพูใส หาซื้อได้ตามร้านที่ขายเคมีภัณฑ์ค่ะ ตัวที่ใช้นี้มีชื่อว่า
Emal 28 CTN ซื้อจากร้านฮงฮวด ถนนจักรวรรดิ ราคากก.ละ 35 บาท




เกลือป่น ใช้เกลือป่นแบบชาวบ้านๆถุงละ 1 บาทก็พอค่ะ
ซื้อยกโหล โหลละ 10 บาท หาได้ตามร้านขายของชำ




วิธีทำน้ำยาล้างจาน

ชั่งน้ำใส่หม้อแสตนเลส 2.5 กก. ใส่มะกรูด, มะขามเปียก และใบชาลงไป ตั้งไฟให้เดือดแล้วต้มต่อสักพัก ใช้ทัพพีคนๆให้ส่วนผสมถูกต้มให้ทั่วๆ แต่อย่าบี้ส่วนผสมนะคะ




ต้มได้ที่แล้วหน้าตาจะเป็นแบบนี้




นำไปกรองรองด้วยผ้าขาวบางสักสองชั้น โดยไม่ต้องคั้นใดๆทั้งสิ้น
แค่ปล่อยให้น้ำไหลแล้วแห้งเอง




กรองเสร็จแล้วจะได้น้ำสีน้ำตาลขุ่นๆหอมๆแบบนี้ ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น




เมื่อส่วนผสมเย็นแล้ว นำหัวแชมพูใสมาเทใส่คนให้เข้ากันดี
ส่วนผสมเข้ากันดีแล้วจะได้น้ำสีน้ำตาลใสๆและหอมๆอีกแบบหนึ่ง
เห็นไหมคะจากที่ตอนแรกยังไม่ใส่หัวแชมพูน้ำจะขุ่นๆในรูปข้างบน




ค่อยๆใส่เกลือลงไปทีละ 1 ชต.และคนให้ละลายจึงใส่อีกช้อน ตักขึ้นแล้วเทดูว่าข้นพอตามต้องการหรือยัง เมื่อข้นพอแล้วก็หยุดใส่เกลือ จำนวนเกลืออาจน้อยกว่าหรือมากกว่านิดหน่อยจากที่ให้ไว้ ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าอยากให้ข้นหนืดแค่ไหน

เวลาทำไม่เคยชั่งเกลือเลยค่ะ จะค่อยๆใส่ลงไปแล้วคนๆ
ดูความข้นหนืดตามต้องการ

(แต่ห้ามใส่เกลือมากเกินไปหรือเทพรวดลงไปหมด ถ้าเกลือมากเกินไปจะทำให้ส่วนผสมคืนตัว แล้วส่วนผสมจะไม่ข้นอีกเลยค่ะ)

อันนี้ข้นพอแล้ว ไม่รู้ว่ามองจากภาพจะดูออกไหม



ตักเก็บใส่ขวดที่แห้งๆไว้ใช้ได้ เขาบอกว่าอยู่ได้ 6 เดือน
แต่ที่ทำมาเกิน 6 เดือนก็ไม่เห็นเป็นไรนะคะ ยังหอมและใช้ได้ดี
ที่เห็นในรูปทั้งหมดนั่น ทำ 2 สูตรค่ะ เพราะใช้หลายบ้าน




น้ำยาล้างจานที่เราทำได้สีอาจไม่สวยเหมือนที่ซื้อ เพราะเป็นสีธรรมชาติ
กลิ่นหอมก็กลิ่นหอมจากสมุนไพรค่ะ
แต่เราก็ลดสารเคมีที่อาจตกค้างแล้วเข้าสู่ร่างกายเราได้ส่วนหนึ่งละค่ะ
ทำแชมพูสมุนไพรใช้เอง

เส้นผมเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากโพรงเล็กๆ เรียกว่าฟอลลิเคิล (follicle) ใต้หนังศีรษะ ซึ่งผมแต่ละเส้นประกอบด้วย 3 ชั้น  ชั้นนอกสุดเรียกว่า คิวติเคิล (cuticle) ลักษณะบางใส ไม่มีสีเป็นเคอราตินแข็งคล้ายเล็บ ชั้นนี้มีความสำคัญที่สุดเพราะทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ชั้นใน ทำให้ผมมีความแข็งแรง หากผมชั้นนี้ได้รับความกระทบกระเทือนจะทำให้เส้นผมดูหยาบกระด้าง  ไม่เงางาม ชั้นกลางเรียกว่า  คอร์เทกซ์ (cortex) เป็นชั้นที่หนาที่สุดภายในมีเม็ดสี (melanin) ทำให้เกิดสีผมและเป็นชั้นที่ทำให้ผมมีความยืดหยุ่น ชั้นในสุดเรียกว่า เมดูล่า (medulla) เป็นแกนกลางของเส้นผมมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนใหญ่  คือ เคอราติน (keratin) ประมาณ 65-95% และมีโพรงอากาศแทรกอยู่ตรงกลางสุด

     ส่วนหนังศีรษะของเรานั้น มีต่อมไขมันรวมอยู่ ทำหน้าที่ผลิตไขมันหรือน้ำมัน เพื่อเคลือบหนังศีรษะและเส้นผมยาวลงมาประมาณ 1 นิ้ว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อเส้นผม นอกจากนี้หนังศีรษะยังมีความเป็นกรดอ่อนๆ ดังนั้นแชมพูจึงต้องทำให้เป็นด่างเล็กน้อย เพื่อล้างกรดออกจากเส้นผมและหนังศีรษะออกให้หมดจะเลือกแชมพูอย่างไรดี
แชมพู (shampoo)
 
     เราแบ่งแชมพูได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แชมพูเคมี ที่ใช้สารเคมีเป็นส่วนประกอบทั้งสารทำความสะอาดและสารบำรุง  และแชมพูธรรมชาติ (แชมพูสมุนไพร)  คือ แชมพูที่มีส่วนผสมของสารทำความสะอาดและใช้สมุนไพรเป็นสารบำรุง ซึ่งบางชนิดอาจจัดเป็นแชมพูสมุนไพรสดที่ใช้สมุนไพรมาผลิตเป็นยาสระผมโดยไม่ใส่สารกันเสียใดๆ

     หากต้องการซื้อแชมพูขจัดรังแคเคมี สารประกอบสำคัญที่คุณจะพบคือซิงค์ไพริไทออน (Zinc pyrithione) เพื่อลดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิวหนังและต้านเชื้อแบคทีเรีย แต่หากเป็นแชมพูธรรมชาติสารที่พบอาจเป็นสารสกัดจากมะกรูดทำให้ผมนิ่มขึ้น  แต่หากต้องการซื้อแชมพูเพื่อบำรุง ควรดูว่าเส้นผมมีลักษณะอย่างไรและเลือกแชมพูให้ตรงกับชนิดของเส้นผม 
 
     นอกจากนี้คุณควรอ่านฉลากทุกครั้ง ก่อนซื้อสินค้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อจะได้แชมพูตรงกับความต้องการและสภาพเส้นผมมากที่สุด ตัวอย่างเช่น หากเป็นคนผมมัน ควรเลือกแชมพูที่มีมอยเจอร์น้อยๆ เพื่อจำกัดความมันของหนังศีรษะและควรใช้ครีมนวดเฉพาะปลายผมลงมา ไม่ควรใช้ครีมนวดผมบนศีรษะ คนผมแห้งควรใช้มอยเจอร์ในปริมาณที่มากขึ้น และใช้ตั้งแต่หนังศีรษะลงมาจนถึงปลายผม และใช้ครีมนวดผมทุกครั้งหลังสระผม สำหรับคนผมธรรมดาสามารถใช้แชมพูได้ทุกประเภท เพียงหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้ผมเสีย เช่น การย้อมผม หรือการหวีแรงๆ


ทำแชมพูสมุนไพรใช้เอง



ขิง (Ginger) : แก้ผมร่วง ทำให้เส้นผมเกิดใหม่ได้ดีขึ้น
วิธีใช้ : นำเหง้าสดมาเผาไฟ ทุบให้แตกผสมน้ำนำไปขยี้ให้ทั่วศีรษะ วันละ 2 ครั้ง ประมาณ 3 วัน หรือนำขิงแก่ 1 เหง้า  ขนาดเท่าฝ่ามือตำให้ละเอียด ห่อด้วยผ้าขาวบางเป็นลูกประคบ วางบนหม้อประคบที่ต้มน้ำจนเดือด  เมื่อลูกประคบร้อนนำไปประคบบริเวณผมร่วง ทำวันละ 2 ครั้ง 20-30 นาที  3-5  วัน จะเห็นผล

ตะไคร้ (Lemon Grass) : แก้ผมแตกปลาย ขจัดรังแค ทำให้ผมดกดำ
วิธีใช้ : ใช้ต้นตะไคร้ 3-4 ต้น หั่นเป็นชิ้นแล้วตำ คั้นเอาน้ำมาใช้นวดหลังสระผมทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้างออก ทำทุกครั้งหลังสระผม จะเห็นผลภายใน 2 เดือน

ฟ้าทลายโจร : แก้ผมร่วง 
วิธีใช้ : นำมาต้มกับน้ำ หลังสระผม ชโลมให้ทั่วศีรษะทิ้งไว้สักครู่แล้วจึงล้างออก

มะกรูด (Kaffir Lime) : ทำให้ผมดกดำ นิ่มสลวย ขจัดรังแค แก้ผมร่วง
วิธีใช้ :
1. มะกรูด 1 ผลผ่าซีก ต้มกับน้ำ 2 แก้วให้เดือดยกลงจากเตา ทิ้งไว้ 5 นาที บีบเอาน้ำมะกรูด กรองเอาเนื้อและกากออก นำน้ำที่ได้ไปสระผม ผมจะนิ่มสลวย
2. ผลมะกรูด 1 ผลบีบเอาแต่น้ำ นำมาผสมหัวกะทิ  กวนให้เข้ากันใช้ขยี้ให้ทั่วศีรษะทิ้งไว้ 10 นาที แล้วจึงล้างออก ทำวันละครั้งติดต่อกัน 7 วัน ผมจะดกดำ
3. ผลมะกรูด 1 ผล เผาไฟให้ร้อน คั้นเอาน้ำใช้ขยี้บนศีรษะให้ทั่วทิ้งไว้ 2-3 นาที ล้างออกให้สะอาด ช่วยขจัดรังแค

มะพร้าว (Coconut) : ทำให้ผมนิ่ม รักษาผมแห้งแตกปลาย
วิธีใช้ : บีบเนื้อมะพร้าวเป็นกะทิ นำไปเคี่ยวจนได้น้ำมัน ใช้นวดเส้นผม ทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วจึงสระออก

ว่านหางจระเข้ : ทำให้ผมลื่น หวีง่าย นุ่มสลวย รักษาแผลบนหนังศีรษะ
วิธีใช้ : ใช้ใบแก่ที่มีน้ำเมือกมาก ล้างให้สะอาด แช่ในน้ำอุ่น 5-10 นาที ให้ยางสีเหลืองไหลออกให้หมด เอามีดเฉือหนามออกทั้งสองข้าง ผ่าเนื้อวุ้นออกเป็น 2 ซีก นำน้ำวุ้นที่ได้มาทาผมแทนการใส่น้ำมัน หรือนำเนื้อวุ้นที่ได้มาใส่เครื่องปั่น  ปั่นให้ละเอียดน้ำวุ้นที่ได้ใช้หมักผมทิ้งไว้ 5 นาทีแล้วล้างออก
 
สูตรแชมพูสมุนไพรสด สูตรรำข้าว

ส่วนประกอบ :
- มะกรูด 1 ผล
- ฝักส้มป่อย 1-2 ฝัก
- รำข้าวละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ :
1. นำมะกรูดและฝักส้มป่อยไปเผาไฟให้มีกลิ่นหอม
2. ผ่าซีกมะกรูด นำไปต้มรวมกับฝักส้มป่อยในน้ำ 1 ชาม  ต้มจนเดือด
3. นำน้ำที่ต้มได้ผสมกับน้ำเย็น 1 กะละมัง
4. เติมรำข้าว คนให้เข้ากัน  เอาน้ำที่ได้ไปชโลมเส้นผม นำกะละมังมารองน้ำที่ใช้ชโลมแล้วกลับมาทำซ้ำอีก ใช้หวีซี่ห่างสางผมไปด้วย ทำเช่นนี้ไป 10-15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด 

สูตรนี้เมื่อใช้แล้วจะทำให้ผมนิ่ม ไม่พันกัน และมะกรูดจะช่วยรักษารังแคและอาการคันหนังศีรษะ

ใส่ใจหนังศีรษะบ้าง

     เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น กล้ามเนื้อใต้หนังศีรษะก็จะเกิดความตึงเครียดด้วย ทำให้ระบบไหลเวียนน้ำเหลืองใต้หนังศีรษะทำงานได้ไม่ดีและเกิดเป็นของเสียตกค้างใต้หนังศีรษะ ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเส้นผมได้ไม่เพียงพอ การนวดผ่อนคลายกล้ามบริเวณหนังศีรษะจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยการนวดหนังศีรษะทุกครั้งที่สระผม ด้วยการกางนิ้วมือทั้งสิบกดลงไปและนวดให้ทั่วศีรษะ  เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และนวดต้นคอและบ่าทั้งสองข้าง  เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตและการไหลเวียนน้ำเหลืองให้ทำงานดีขึ้น

     นอกจากการนวดหนังศีรษะแล้ว การดีท็อกเส้นผมและหนังศีรษะก็สามารถช่วยกำจัดของเสียได้เช่นกัน โดยทำได้ 2 วิธีคือการนวดด้วยมือ และการดีท็อกหนังศีรษะด้วยแรงดันน้ำระบบสูญญากาศ เพื่อชะล้างคราบสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่บนเส้นผม  และใช้น้ำอุ่นกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้หล่อเลี้ยงหนังศีรษะได้ดีขึ้น แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดต่างกันไป เช่น การนวดด้วยมือสามารถสร้างความผ่อนคลายได้มากกว่าการนวดด้วยเครื่อง ในขณะที่การนวดด้วยเครื่องสามารถทำความสะอาดเส้นผมได้ล้ำลึกมากกว่าการนวดด้วยมือเป็นต้น

     การทำดีท็อกหนังศีรษะขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละคน เช่น ผู้ที่ทำสีผมบ่อย ผมเสียมาก หรือมีปัญหาเรื่องผิวหนังอักเสบ เป็นแผลเป็นรังแค อาจทำบ่อยได้ถึง 2 ครั้งต่อเดือน สำหรับผู้ต้องการดูแลเส้นผมธรรมดาอาจทำเดือนละ 1 ครั้งก็น่าจะพอแล้ว

     การเสริมสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเส้นผมจากภายในด้วยการเลือกกินอาหารก็จำเป็นเช่นกัน ถ้าคุณต้องการให้ผมเงางามควรกินสารอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ฟักทอง มะละกอ ตำลึง หรือแครอท และควรเสริมวิตามินซีและอี ธาตุสังกะสี  ธาตุเหล็ก จากอาหารจำพวกข้าวไม่ขัดขาว ข้าวสาลี ไข่ ถั่ว นม ธัญพืช ผักผลไม้ และตับ เพื่อบำรุงเส้นผมด้วย ที่สำคัญควรลดการดื่มน้ำอัดลม เนื่องจากทำให้เลือดเป็นกรดและส่งผลให้เส้นผมสูญเสียแร่ธาตุ

แชมพูมะกรูด

 
Tags:
หลังจากที่เมื่อวันก่อนทำน้ำหมักมะกรูด เพื่อเอาไว้ทำน้ำยาล้างจาน และ ล้างห้องน้ำ วันนี้ได้มะกรูดเพิ่มอีก ก็เอาไปทำน้ำหมักเพิ่มอีก 3 ก.ก.เหลือจาก 3 ก.ก.แล้วเอาไงดีล่ะทีนี้(น้ำยาล้างจานต้องรออีก 3 เดือนแน่ะ)ก็เลยทำแชมพูจากมะกรูดล้วนๆ ไม่ผสมอะไรเลยนอกจากน้ำ(สูตรเหรอ ค้นหาจากกูเกิ้ล)และยังไม่ได้ลองใช้ด้วยเย็นนี้เป็นต้นไปเราจะใช้แชมพูมะกรูด ทุ๊กวันเลยค่ะ
ป.ล. ขณะทำขั้นตอนสุดท้าย น้องบุ๋มโทรมาพอดีคุยเรื่องเผาถ่าน น้องบุ๋มคุยเก่ง คุยสนุกมากค่ะ
มะกรูดที่เหลือจากทำน้ำหมัก
หั่นเป็นชิ้นสี่ส่วน
ใส่น้ำพอท่วมมะกรูดและนำไปต้มจนเปื่อยเสร็จแล้วทิ้งใว้ให้เย็น
เสร็จแล้วปั่น ปั่น ปั่น หน้าตาเป็นแบบนี้ค่ะ
เสร็จแล้วกรอกใส่ขวด ใช้ได้เลยค่ะ
เหลือเก็บอีก 1 ขวดคงใช้ได้อีกนานค่ะ
สรรพคุณเขาบอกว่าไม่มีฟอง ไม่มีสารพิษ เวลาใช้ให้หมักผมด้วยแชมพูมะกรูดทิ้งใว้สักพักแล้วค่อยล้างออกค่ะ

บำรุงผมด้วยมะกรูด

มะกรูด
     คุณค่าของมะกรูด ในการบำรุงเส้นผมนั้นอาจเป็นสิ่งที่หลายๆ ท่านรู้กันดีอยู่แล้ว เพราะแม้กระทั่งผู้ผลิตยาสระผมบางรายยังใช้เป็นประเด็นในการโฆษณาว่า แชมพูของตนผสมมะกรูด มะกรูดไม่เพียงแต่ทำให้ผมดำเป็นเงางามเท่านั้น แต่ยังช่วยกำจัดรังแคแก้คันศีรษะ แก้ผมแตกปลายป้องกันผมร่วง และทำให้ผมหงอกช้า  มะกรูดเป็นสมุนไพรธรรมชาติ จึงไม่ต้องกลัวแพ้เหมือนแชมพูที่ทำจากสารเคมี ที่สำคัญมะกรูดบำรุงผมได้ทุกชนิด คนผมแห้งหรือผมมันก็ใช้ได้


วิธีใช้มะกรูดสระผม

การนำมะกรูดมาสระผมนั้นมี หลายวิธีให้เลือก ดังนี้

     1. เอามะกรูดสดๆ มาผ่าครึ่ง แคะเอาเม็ดออก บีบเอาน้ำมาใช้สระผม แต่วิธีนี้จะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำมันที่ผิวมะกรูด

     2. ปอกผิวมะกรูดออก นำมาตำให้ละเอียด แล้วบีบน้ำมะกรูดผสมลงไป เติมน้ำลงไปอีกพอให้ส่วนผสมเริ่มเหลว คนให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วกรองคั้นเอาแต่น้ำไปใช้ วิธีนี้เวลาสระจะได้กลิ่นเหม็นเขียวจากผิวมะกรูด แต่สระเสร็จแล้วจะหอมได้ผลดีที่สุด

     3. เอาลูกมะกรูดมาหั่นเป็นชิ้นและนำมาเข้าเครื่องปั่นจนละเอียดที่สุด เอาออกมาใส่ชามเติมน้ำอุ่นลงไปจนท่วม คนให้ทั่ว ตั้งทิ้งไว้ 10-20 นาที คั้นเอาแต่น้ำใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้ น้ำมะกรูดจะอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ สำหรับมะกรูดนั้นจะใช้มะกรูดสดหรือเผาไฟก่อนก็ได้

วิธีทำน้ำมะกรูดด้วยการเผาไฟ

เหมาะสำหรับขจัดรังแค แก้คันศีรษะใช้หมักผมและหนังศีรษะ

    1. นำมะกรูดเผาไฟให้พอมีน้ำมันซึมออกมาจากผิว และมีกลิ่นหอม
    2. ผ่าครึ่ง บีบเอาเฉพาะน้ำมาชโลมให้ทั่วหนังศีรษะ หมักไว้ประมาณ 15-30 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด

วิธีทำน้ำมะกรูดด้วยการต้ม

เหมาะสำหรับ สระแทนแชมพู ทำให้ผมนิ่ม ลื่น รักษาอาการคันศีรษะ

     1. นำมะกรูดผ่าครึ่ง ต้มกับน้ำเล็กน้อย (น้ำ 2ถ้วย ต่อมะกรูด 1 ลูก) ตั้งไฟพอเดือดยกลง ปิดฝาทิ้งไว้จนอุณหภูมิลดลง นำมาคั้นแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อไม่ให้เกร็ดเล็กๆของมะกรูดติดกับผม
     2. นำน้ำมะกรูดที่ได้มาชโลมให้ทั่วเส้นผมและหนังศีรษะ ใช้ทำความสะอาดเส้นผมแทนแชมพู หรือใช้เคลือบเส้นผมแทนครีมนวดผม ทำให้ผมหวีง่ายไม่พันกัน


     เมื่อได้น้ำมะกรูดแล้วก่อนสระผมควรราดผมให้เปียกชุ่มเสียก่อน เนื่องจากน้ำมะกรูดมีฤทธิ์เป็นกรดแก่ กัดหนังศีรษะได้ น้ำมะกรูดเมื่อเจือจางลง ฤทธิ์อ่อนลงไปด้วย ขณะที่สระผมควรนวดศีรษะไปด้วย ทิ้งไว้สองสามนาที ล้างออกและสระซ้ำอีกครั้ง แล้วล้างออกให้สะอาด อย่าให้มีเศษมะกรูดหลงเหลืออยู่ เพราะจะทำให้ผมเสีย ที่สำคัญระวังอย่าให้น้ำมะกรูดเข้าตาหรือถูกปาก เพราะจะรู้สึกแสบตาและชาปาก เวลาใช้ตอนแรกอาจจะรู้สึกแสบที่หนังศีรษะบางแห่ง แสดงว่าตรงนั้นมีแผลอยู่ ไม่เป็นอันตรายอะไรใช้ไปเรื่อยๆ จะหายเอง แต่ถ้ารู้สึกแสบทั้งหนังศีรษะแสดงว่าน้ำมะกรูดข้นไป ต้องผสมน้ำให้เจือจางอีก หลายๆ คนอาจจะเคยอยากใช้มะกรูดสระผม แต่ขี้เกียจยุ่งยาก



ใบหมี่

วิธีทำ แชมพูมะกรูด ใบหมี่
ส่วนผสม

   1. มะกรูด 3-5 ผล
   2. ใบหมี่ 10 ใบ
   3. น้ำซาวข้าวเหนียว 1 ลิตร

วิธีทำ

   1. มะกรูดผ่าตามขวางเป็นสองซีก ตั้งน้ำพอเดือด ใส่มะกรูดและใบหมี่ลงไปในหม้อ
   2. รอให้เดือดต่อประมาณ 10 นาที ปิดฝา ยกลง
   3. รอจนเย็นลง ใช้ผ้าขาวบางกรองเอากากออก แล้วเก็บใส่ขวดไว้ใช้สระผมแทนแชมพู

หมายเหตุ วิธีการทำน้ำซาวข้าวเหนียว ให้นำข้าวเหนียวประมาณ 1 ลิตร แช่น้ำพอท่วม (ใช้น้ำประมาณ 1 ลิตร) ทิ้งไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง จะได้น้ำซาวข้าว
            ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ประชาชนผู้บริโภคนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะทำให้เบาแรงในการทำความสะอาดมาก เหมือนกับที่โฆษณาว่าแค่ราดทิ้งไว้ แป๊บเดียวก็สะอาด แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางทีอาจใช้พร่ำเพรื่อโดยไม่จำเป็นก็ได้ ดังนั้นน่าจะมาทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำในเรื่องของสารเคมีที่ใช้ซึ่งโดยทั่วไปใช้กรดเกลือหรือชื่อทางเคมีว่ากรดไฮโดรคลอริกรวมถึงวิธีการใช้  ข้อควรระวังในการใช้ ความเป็นพิษ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนวิธีการเก็บรักษา

โครงสร้างทางเคมี

            โครงสร้างทางเคมีของกรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ คือ HCl  ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำจะมีกรดไฮโดรคลอริกร้อยละ  8  ถึงร้อยละ 15  โดยน้ำหนัก และมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาด ชะล้างรอยเปื้อนภายใน 5 นาที  กรดไฮโดรคลอริกมีคุณสมบัติเป็นกรดแก่ ทำปฏิกิริยากับหินปูน(แคลเซียม) เกิดฟองฟู่ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสามารถกัดกร่อนโลหะได้เป็นอย่างดี จึงใช้ผสมทำความสะอาดห้องน้ำ เพื่อขจัดคราบที่เกิดจากการตกตะกอนของอนุภาค โลหะซึ่งเป็นคราบขาวเทา หรือคราบสนิมสีส้ม ตามผนังและพื้นห้องน้ำได้ นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอ่าง กระเบื้อง และโถส้วม

            นอกจากนั้นอาจจะผสมกับกรดฟอสฟอริก และสารลดแรงตึงผิวเช่น Nonylphenol, Linear Alkyl Benzene Sulfonate (LAS)  เพื่อให้สารออกฤทธิ์สัมผัสกับพื้นผิวห้องน้ำได้ดีขึ้น และทำความสะอาดได้ทั่วถึงมากขึ้น 

            อย่างไรก็ตามถ้าใช้ผลิตภัณฑ์สูตรนี้บ่อยๆ อาจทำให้ผิวหน้าของพื้นห้องน้ำค่อย ๆ หลุดออก ซึ่งเมื่อใช้ไปเป็นเวลานานพื้นห้องน้ำอาจถูกกัดเซาะผิวหน้า ทำให้ขรุขระไม่เรียบมัน  และทำให้คราบสกปรกติดฝังแน่น ตรงรอยหยาบของผิวกระเบื้องได้มากขึ้น โดยทั่วไประยะเวลาของการถูกกัดเซาะนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของ ผิวกระเบื้องที่ใช้ปูพื้นด้วย
ประโยชน์  ใช้ทำความสะอาด  และฆ่าเชื้อโรคบริเวณพื้นห้องน้ำฝาผนัง  และเครื่องสุขภัณฑ์ เหมาะสำหรับคราบสกปรกมาก และคราบฝังแน่น
วิธีการใช้ (กรดไฮโดรคลอริก 15%)

            สำหรับการทำความสะอาด พื้นห้องน้ำ ผสมน้ำยากับน้ำในอัตราส่วน 1:2 (การผสมให้ค่อยๆ เทน้ำยาลงในน้ำ)

            สำหรับการทำความสะอาด โถส้วม ผสมน้ำยากับน้ำในอัตราส่วน 1:1

            สำหรับการฆ่าเชื้อโรค หลังทำความสะอาดแล้ว ผสมน้ำยากับน้ำในอัตราส่วน 1:2 เทราดลงบนพื้นบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อ ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
            ห้ามเทน้ำลงในน้ำยาที่มีกรดไฮโดรคลอริก

ข้อควรระวังในการใชความเป็นพิษ

            กรดไฮโดรคลอริกในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ    สามารถเข้าสู่ร่างกายได้    โดยการสัมผัส การหายใจและการรับประทานหรือกลืนกิน โดยทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพดังนี้

            ถ้ากรดไฮโดรคลอริกถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังอย่างรุนแรง ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ บวม แดง เจ็บแสบและอาจทำให้เกิดผลเสียอย่างถาวรต่อผิวหนัง

            ไอระเหยหรือละอองไอของกรดไฮโดรคลอริกแม้ในปริมาณน้อยๆ ก็ทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ ทำให้ตาแดง ในความเข้มข้นสูงๆ ทำให้เกิดแผลไหม้หรือตาบอดได้

            การสูดดมไอระเหยของกรดไฮโดรคลอริกทำให้เกิดฤทธิ์กัดกร่อนระบบทางเดินหายใจ  ตั้งแต่แสบจมูก ลำคอ  ไปจนถึงหายใจลำบากได้  ถ้าสูดดมในปริมาณสูงๆ เป็นเวลานานอาจทำให้เป็นแผลไหม้ มีแผลอักเสบที่จมูกและลำคอ ปอดบวมน้ำและหายใจลำบาก

            การกลืนหรือกินจะทำให้เกิดการระคายเคือง  และแผลไหม้ที่ปาก  ลำคอ  ท่ออาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งมีผลทำให้เกิดมีอาการตั้งแต่กลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง ชัก หรือถึงขั้นเสียชีวิต
 

การปฐมพยาบาล

            หากถูกผิวหนัง   ให้รีบล้างออกด้วยการรินน้ำผ่านเป็นปริมาณมากๆ   เป็นเวลาอย่างน้อย  15  นาที  ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วล้างร่างกายด้วยน้ำและสบู่อ่อน   ส่วนเสื้อผ้าให้นำไปซักก่อนนำมากลับมาใช้ใหม่ ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์

            หากเข้าตา ให้รีบล้างออกจากตาโดยเร็ว ด้วยการรินน้ำอุ่นให้ไหลผ่านตาเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที  พร้อมเปิดเปลือกตาบนและล่างเป็นครั้งคราว  หากยังมีอาการระคายเคืองอยู่ให้นำผู้ป่วยไปพบแพทย์

            หากหายใจเข้าไป    ให้รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่สัมผัสมายังที่ซึ่งมีอากาศบริสุทธิ์   ถ้ามีอาการรุนแรงให้ช่วยผายปอดและปั๊มหัวใจ แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์

            หากกลืนหรือกินเข้าไป
ห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมา  ถ้ายังมีสติอยู่ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำตามเข้าไปเป็นปริมาณมากๆ หรือให้ดื่มน้ำนมตามเข้าไปหลังจากดื่มน้ำเข้าไปแล้ว ล้างบริเวณปากผู้ป่วย และให้บ้วนปากด้วยน้ำ รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยเร็วที่สุด พร้อมด้วยภาชนะบรรจุ และฉลากของผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ
 

การเก็บรักษา

            ควรแยกเก็บไว้ในที่มิดชิด เป็นสัดส่วนห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง และอย่าเก็บรวมกับอาหารหรือวางปะปนกับอาหาร  นอกจากนี้ควรจัดเก็บในบริเวณที่แห้งไกลจากความร้อน แสงแดด เปลวไฟ วัตถุหรือสารไวไฟ  รวมถึงโลหะหนัก เนื่องจากกรดไฮโดรคลอริกสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะได้เป็นแก๊สไฮโดรเจนที่ติดไฟได้ง่าย  ซึ่งทำให้เกิดอัคคีภัยและการระเบิดได้ และเมื่อใช้หมดแล้วควรทิ้งหรือทำลายภาชนะบรรจุหรือทำลาย  ห้ามนำมาใส่อาหารหรือของบริโภคอื่น
เหนียวสีขาวขุ่น
 

14 ความคิดเห็น:

  1. ดีจังชอบๆๆๆๆๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  2. อ่านแร้วดั้ยความรู้มากมาย

    เลยคร้าปปปปปป

    ตอบลบ
  3. อ่านแร้ว

    โคตรดีเลยยยยย

    ตอบลบ