ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น
[แก้] สกุล
ไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 90 สกุล และ 1,000 ชนิด. ที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล ต่อไปนี้- Arundinaria
- Bambusa
- Chimonobambusa
- Chusquea
- Dendrocalamus
- Drepanostachyum
- Guadua angustifolia
- Hibanobambusa
- Indocalamus
- Otatea
- Phyllostachys
- Pleioblastus
- Pseudosasa
- Sasa
- Sasaella
- Sasamorpha
- Semiarundinaria
- Shibataea
- Sinarundinaria
- Sinobambusa
- Thamnocalamus
[แก้] ไผ่ในประเทศไทย
ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้[1]
|
|
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1. ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
- ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
- ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
- ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
- ให้ความร่มรื่น
- ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2. ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3. ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4 การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม แบ่งออกได้ ดังนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด กระบุง กระด้ง กระเช้าผลไม้ ตะกร้าจ่ายตลาด ชะลอม ตะกร้าใส่ขยะ กระเป๋าถือสตรี เข่งใส่ขยะ เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา ลอบ ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่ ได้แก่ เก้าอี้ โต๊ะ ชั้นวางหนังสือ ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง ท่อส่งน้ำ รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่ ถาดใส่ขนม ทัพพีไม้ ตะเกียบ ไม้เสียบอาหาร
กรอบรูป ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่ โครงโคมกระดาษ โครงพัด โครงร่ม ลูกระนาด
คันธนู พื้นม้านั่ง แผงตากปลา สุ่มปลา สุ่มไก่
5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก

ประโยชน์จากไม้ไผ่

เนื่องจากพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีน้ำตกที่คงความเป็นธรรมชาติอันสวยงาม และชาวบ้านมีอาชีพในการปลูกไม้ไผ่ตงเป็นหลัก และมีเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงปล่อยให้เติบโตและปล่อยให้เป็นที่รกร้าง พอต้นไผ่ตงหมดอายุก็จะเหลือเป็นตอไม้ นายประยงค์ เข็มมณี จึงได้นำเหง้าไม้ไผ่มาหัดแกะสลักเป็นรูปสัตว์ขายริมทางหน้าบ้าน ซึ่งเป็นทางผ่านไปแหล่งท่องเที่ยว โดยได้ตั้งชื่อร้านว่า “แปลก”
ในปี พ.ศ. ๒๕42 นายกฤษฎ์ สาริกา ซึ่งจบทางด้านช่าง จากวิทยาลัยเทคนิคนครนายก และได้ไปทำงานที่กรุงเทพฯ เมื่อมีโอกาสได้กลับมาอยู่นครนายกจึงได้หัดแกะสลักไม้ไผ่ดูและวางจำหน่าย ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยวสนใจและซื้อกลับไปเป็นของที่ระลึก
ในระยะแรกของการผลิต ได้ลองผิดลองถูกเป็นระยะเวลาหลายปี รวมทั้งรับฟังคำแนะนำจากผู้ที่สนใจและซื้อ โดยได้แกะสลักไม้ไผ่เป็นแบบต่างๆ เช่นดอกไม้ ต้นไม้ ช้าง มังกร รวมทั้งแกะสลักตามที่ลูกค้าได้สั่งผลิต
เนื่องจากไม้ไผ่มีเสน่ห์ สามารถดึงเอาธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์มาสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มได้อย่างลงตัว โดยก่อนที่จะลงมือแกะสลัก ผู้ผลิตจะจินตนาการว่าไม้ไผ่ชิ้นนี้สามารถแกะสลักเป็นอะไรได้บ้าง หลังจากนั้นได้แกะสลักลวดลายตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นจะมีความอ่อนช้อย สวยงามเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน
ขึ้นด้านบน
ตำบลสาริกา เป็นแหล่งที่มีไผ่ตงเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม้ไผ่มีเสน่ห์ในตัวเอง ซึ่งกลุ่มได้ดึงเอาธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของไผ่มาสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มได้อย่างลงตัว โดยก่อนที่จะลงมือแกะสลัก ผู้ผลิตจะจินตนาการว่าไม้ไผ่ชิ้นนี้สามารถแกะสลักเป็นอะไรได้บ้าง หลังจากนั้นได้แกะสลักลวดลายตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นจะมีความอ่อนช้อย สวยงามเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน

ขึ้นด้านบน
- สิทธิบัตร
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มผช.)
- OTOP Product Champiom ปี 2553 ระดับ 3 ดาว
- สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
ขึ้นด้านบน
ไผ่ตงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหน่อไม้ และเมื่อลำต้นมีอายุประมาณ 3 ปี ชาวสวนจะนำลำต้นและเหง้าไผ่มาจำหน่ายให้กับกลุ่ม เพื่อนำมาประดิษฐ์เป็นโคมไฟหรือของประดับตกแต่งบ้านต่อไป สำหรับแรงงานของกลุ่มผู้ผลิตทั้งหมดเป็นชาวบ้านในตำบล
ขึ้นด้านบน
1. ไม้ไผ่ตง2. ยูริเทนหรือเลกเกอร์
3. ตอก
4. สายไฟและหลอดไฟ
5. สิ่วปากแบน สิ่วเล็บมือ ขนาดต่างๆ
6. ตลับวัด
7. สว่านเจาะ
8. กระดาษทราย
9. เครื่องเจีย
10. เลื่อยคันธนู เลื่อยไฟฟ้า
11. แปรงทองเหลือง แปรงทาสี
ขึ้นด้านบน
1. นำไม้ไผ่ที่ตัดได้ขนาดแล้ว นำไปผึ่งที่ที่ลมพัดผ่านสะดวก ทิ้งให้แห้งโดยธรรมชาติ2. นำไปกลึง ขนาดตามต้องการ
3. ตัดไม้ไผ่ให้ได้ขนาดโคมไฟตามต้องการ
4. ออกแบบลวดลายบนโคมไฟตามต้องการในกระดาษ ตัดแบบแล้วทาบลงบนไม้ที่กลึงแล้ว
5. แกะสลักตามแบบที่ได้ออกแบบไว้
6. เดินเส้นลายก่อนเพื่อให้เห็นรูปร่างด้วยสิ่วขนาดเล็ก
7. แกะสลักให้ลวดลายมีความตื้น-ลึก ด้วยสิ่วที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ตามที่ต้องการ จากนั้นนำมาแกะต่อ เพื่อเพิ่มลายละเอียดจนได้ลวดลายตามความพึงพอใจ เมื่อแกะลวดลายเสร็จแล้วนำไปเจาะให้เกิดส่วนที่แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าลอดออกมา
- ใช้สว่านเจาะนำก่อน เพื่อให้ใส่ใบเลื่อยลงไปได้
- ใช้เลื่อยไฟฟ้า เจาะให้เกิดส่วนที่แสงสว่างจากหลอด
- ไฟฟ้าลอดออกมาได้
- ขัดตกแต่งลบลอยฟันเลื่อยให้เรียบร้อย
- ตัดและตกแต่งให้ได้ขนาดที่ต้องการ
- ใช้เครื่องเจียและกระดาษทรายขัดให้เรียบ
- ทำความสะอาด
9. เคลือบด้วยน้ำมันเคลือบแข็ง (ยูริเทนหรือแลกเกอร์) ทิ้งให้แห้งปั่นด้วยแปรงปั่นสี
ประกอบชุดมู่ลี่ ใส่ตะแกรงไม้สาน
- ตัดตะแกรงไม้ไผ่สานตามขนาดของโคมไฟ
- ใส่ตะแกรงไม้ไผ่สานลงไปในโคมไฟ
- ติดตะแกรงไม้ไผ่สานกับโคมไฟ ด้วยกาวร้อนผสมกับขี้เลื่อยจากผงไม้ไผ่
- ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ขั้วหลอด สะพานไฟและขั้วเสียบ



ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่


เงินลงทุน
ประมาณ 5,000-10,000 บาท
แหล่งจำหน่ายอุปกรณ์
จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ชัยนาท จันทบุรี
ประมาณ 5,000-10,000 บาท
แหล่งจำหน่ายอุปกรณ์
จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ชัยนาท จันทบุรี
อุปกรณ์
ไม้ไผ่ มีดขนาดต่างๆ เช่น มีดสำหรับผ่า มีดจักตอก ฯลฯ สว่านแบบมือหมุน เลื่อย ปากคีบแบบหุ่น
รายได้
ประมาณ 8,000-15,000 บาท/เดือน
วิธีดำเนินการ
1. หาแหล่งที่จะซื้อไม้ไผ่ที่แปรรูปแล้ว และยังไม่แปรรูป
2. ควรได้ศึกษาถึงชนิดการใช้งานของไม้ไผ่ชนิดต่างๆเนื่องจากไม้ไผ่แต่ละชนิดมีคุณ ลักษณะแตกต่างกัน เช่น
-ไผ่สีสุก มีเนื้อหนา เหนียวทนทาน จึงเหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานประเภทเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือประมง
-ไผ่นวล มีเนื้ออ่อนค่อนข้างเหนียว เหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานชนิดที่ต้องการความละเอียด เนื่องจากสามารถจักตอกให้เป็นเส้นเล็กบางได้
-ไผ่รวกดำ ลำต้นแข็งแรงทนทาน ใช้ทำโครงร่ม โครงพัดสานเข่ง
-ไผ่ข้าวหลาม เป็นไผ่เนื้อค่อนข้างบางใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เครื่องจักสาน
-ไผ่เฮี๊ยะ เป็นไม้ไผ่ขนาดกลาง ใช้ทำเครื่องจักสาน โครงสร้างอาคาร
3. เตรียมไม้ไผ่เพื่อนำมาจักสาน ควรเป็นไผ่ที่มีอายุ 2-4 ปี ซึ่งเนื้อไม้จะมีความเหนียวกำลังดี ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปและต้องเลือกดูไม้ที่ไม่มีแมลง แต่อย่างไรก็ดีควรจะต้มหรือผ่านกรรมวิธีป้องกันเชื้อราและมอดเสียก่อน (ไม้ไผ่ที่นิยมนำมาใช้ในการจักสาน ได้แก่ ไผ่เลี้ยง ไผ่สีสุก ไผ่เฮี๊ยะ ไผ่ลำมะลอก ไผ่รวก เป็นต้น) จากนั้นจึงนำไปตัด ซึ่งต้องตัดให้มีความยาวตามขนาดผลิตภัณฑ์ที่จะสานแล้วนำไปริดข้อ ซึ่งต้องระวังอย่าริดให้ลึกจนเกิดรอยแผลที่ผิวไม้ไผ่ และขั้นตอนสุดท้าย คือ ขูดผิวไม้ไผ่ เพื่อการย้อม/ทาสี หลังจากขูดแล้ว ใช้กระดาษทรายเบอร์ 0 ขัดให้เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง
4. การย้อมและการทาสีไม้ไผ่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เครื่องจักสานดูสวยงาม น่าใช้ ซึ่งก่อนที่จะทำการย้อมสี จะต้องเอาน้ำมันออกจากเนื้อไม้เสียก่อน โดยการต้มไม้ไผ่ในน้ำโซดาไฟหรือโซเดียมคาร์บอเนต ขนาด 0.2% นานประมาณ 3-4 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด และอบให้แห้งสนิทจากนั้นนำไม้ไผ่ลงต้มกับสีที่ละลายน้ำแล้ว ประมาณ 20-60 นาที อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ซึ่งขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น จึงนิยมใช้วิธีทาด้วยสีน้ำมันแลคเกอร์หรือน้ำมันวานิชแทน
5. ติดต่อตลาดจำหน่าย ซึ่งโดยปกติจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน หรือบางครั้งจะรับสั่งทำตามที่ลูกค้าต้องการหรืออาจจะนำไปขายเองก็ได้
6. ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบของเครื่องจักรสานให้ทันสมัยเป็นที่ถูกตาต้องใจของลูกค้าทุกวัยเพราะบางครั้งลูกค้าซึ่งมีความเข้าใจว่าเครื่องจักสานเป็นสินค้าที่เหมาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น
2. ควรได้ศึกษาถึงชนิดการใช้งานของไม้ไผ่ชนิดต่างๆเนื่องจากไม้ไผ่แต่ละชนิดมีคุณ ลักษณะแตกต่างกัน เช่น
-ไผ่สีสุก มีเนื้อหนา เหนียวทนทาน จึงเหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานประเภทเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือประมง
-ไผ่นวล มีเนื้ออ่อนค่อนข้างเหนียว เหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานชนิดที่ต้องการความละเอียด เนื่องจากสามารถจักตอกให้เป็นเส้นเล็กบางได้
-ไผ่รวกดำ ลำต้นแข็งแรงทนทาน ใช้ทำโครงร่ม โครงพัดสานเข่ง
-ไผ่ข้าวหลาม เป็นไผ่เนื้อค่อนข้างบางใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เครื่องจักสาน
-ไผ่เฮี๊ยะ เป็นไม้ไผ่ขนาดกลาง ใช้ทำเครื่องจักสาน โครงสร้างอาคาร
3. เตรียมไม้ไผ่เพื่อนำมาจักสาน ควรเป็นไผ่ที่มีอายุ 2-4 ปี ซึ่งเนื้อไม้จะมีความเหนียวกำลังดี ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปและต้องเลือกดูไม้ที่ไม่มีแมลง แต่อย่างไรก็ดีควรจะต้มหรือผ่านกรรมวิธีป้องกันเชื้อราและมอดเสียก่อน (ไม้ไผ่ที่นิยมนำมาใช้ในการจักสาน ได้แก่ ไผ่เลี้ยง ไผ่สีสุก ไผ่เฮี๊ยะ ไผ่ลำมะลอก ไผ่รวก เป็นต้น) จากนั้นจึงนำไปตัด ซึ่งต้องตัดให้มีความยาวตามขนาดผลิตภัณฑ์ที่จะสานแล้วนำไปริดข้อ ซึ่งต้องระวังอย่าริดให้ลึกจนเกิดรอยแผลที่ผิวไม้ไผ่ และขั้นตอนสุดท้าย คือ ขูดผิวไม้ไผ่ เพื่อการย้อม/ทาสี หลังจากขูดแล้ว ใช้กระดาษทรายเบอร์ 0 ขัดให้เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง
4. การย้อมและการทาสีไม้ไผ่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เครื่องจักสานดูสวยงาม น่าใช้ ซึ่งก่อนที่จะทำการย้อมสี จะต้องเอาน้ำมันออกจากเนื้อไม้เสียก่อน โดยการต้มไม้ไผ่ในน้ำโซดาไฟหรือโซเดียมคาร์บอเนต ขนาด 0.2% นานประมาณ 3-4 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด และอบให้แห้งสนิทจากนั้นนำไม้ไผ่ลงต้มกับสีที่ละลายน้ำแล้ว ประมาณ 20-60 นาที อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ซึ่งขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น จึงนิยมใช้วิธีทาด้วยสีน้ำมันแลคเกอร์หรือน้ำมันวานิชแทน
5. ติดต่อตลาดจำหน่าย ซึ่งโดยปกติจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน หรือบางครั้งจะรับสั่งทำตามที่ลูกค้าต้องการหรืออาจจะนำไปขายเองก็ได้
6. ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบของเครื่องจักรสานให้ทันสมัยเป็นที่ถูกตาต้องใจของลูกค้าทุกวัยเพราะบางครั้งลูกค้าซึ่งมีความเข้าใจว่าเครื่องจักสานเป็นสินค้าที่เหมาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น
สถานที่ฝึกอบรม
1. สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02-245-2655,245-4741
2. ในส่วนภูมิภาคที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม 11 ศูนย์ ดังนี้ เชียงใหม่ พิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชลบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา
3. อุตสาหกรรมจังหวัด (ส่วนส่งเสริมอุตสาหกรรม) ทุกจังหวัด
2. ในส่วนภูมิภาคที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม 11 ศูนย์ ดังนี้ เชียงใหม่ พิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชลบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา
3. อุตสาหกรรมจังหวัด (ส่วนส่งเสริมอุตสาหกรรม) ทุกจังหวัด
ข้อแนะนำ
การย้อมสีให้ติดดีนั้น ให้ขูดผิวไม้ไผ่อย่างแผ่วๆ ด้วยมีดเสียก่อน และถ้าจะให้สีเด่นให้นำไม้ไผ่ลงแช่ในกรดแทนนิค แอซิค ชนิด 4-6 เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือแช่ในน้ำยาทาอีเมติคชนิด 1-2 เป็นเวลา 30 นาที
ดีม๊ากมาก น่าสนใจดี
ตอบลบ