มะละกอ (อังกฤษ: Papaya, คำเมือง: ᨠᩖ᩠ᩅ᩠᩶ᨿᨴᩮ᩠ᩈ) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้
เนื้อหา[ซ่อน] |
ลักษณะทั่วไป
มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้ประโยชน์
นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้- สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้
เนื้อมะละกอสุก สารอาหาร ปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม โปรตีน 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม แคลเซียม 24 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 0.6 มิลลิกรัม โซเดียม 4 มิลลิกรัม ไทอะมีน 0.04 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.04 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) 70 มิลลิกรัม
สารอาหาร | ปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม |
โปรตีน | 0.5 กรัม |
ไขมัน | 0.1 กรัม |
แคลเซียม | 24 มิลลิกรัม |
ฟอสฟอรัส | 22 มิลลิกรัม |
เหล็ก | 0.6 มิลลิกรัม |
โซเดียม | 4 มิลลิกรัม |
ไทอะมีน | 0.04 มิลลิกรัม |
ไรโบฟลาวิน | 0.04 มิลลิกรัม |
ไนอะซิน | 0.4 มิลลิกรัม |
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) | 70 มิลลิกรัม |
สารอาหาร | ปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม |
โปรตีน | 0.5 กรัม |
ไขมัน | 0.1 กรัม |
แคลเซียม | 24 มิลลิกรัม |
ฟอสฟอรัส | 22 มิลลิกรัม |
เหล็ก | 0.6 มิลลิกรัม |
โซเดียม | 4 มิลลิกรัม |
ไทอะมีน | 0.04 มิลลิกรัม |
ไรโบฟลาวิน | 0.04 มิลลิกรัม |
ไนอะซิน | 0.4 มิลลิกรัม |
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) | 70 มิลลิกรัม |
สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้
- มะละกอสร้างสรรค์ ทั่วถิ่นไทย ก้าวไกลการศึกษา ไพรัช นวลขำ ประชาสัมพันธ์ สพท.ราชบุรี เขต 1
![]() |
การเกษตรเรื่องพันธุ์มะละกอ
มะละกอมีมากมายหลายพันธุ์ แต่มะละกอเป็นพืชที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ที่เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศของบ้านเรา พันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกในบ้านเรามีด้วยกันทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ
1. พันธุ์โกโก้ มีทั้งก้านใบสีน้ำตาลเข้มหรือสีม่วงเข้มหรือสีเขียวอ่อน พวกที่ก้านสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวจะสังเกตเห็นจุดประสีม่วงตามบริเวณลำต้นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในขณะต้นอายุไม่มาก พันธุ์โกโก้ เป็นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลเร็ว ต้นเตี้ย อวบแข็งแรง มีขนาดผลขนาดเล็กถึงปานกลางผลค่อนข้างยาวผิวเกลี้ยงเป็นมันปลายผลใหญ่ หัวผลเรียว เนื้อแน่นและหนาสีแดงหรือสีชมพูเข้มรสหวานอร่อย
2. พันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่ลำต้นอวบแข็งแรง ต้นเตี้ยให้ดอกติดผลเร็ว ก้านใบสีเขียวอ่อน รูปทรงของผลยาวรีสีผลออกสีเขียวแก่หรือสีเขียวเข้ม มีเนื้อหนาแน่น เมล็ดน้อย ผลสุกเนื้อสีแดงเข้มมีรสหวาน
3. พันธุ์สายน้ำผึ้ง ลักษณะต้นเตี้ย ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ ผลค่อนข้างโตทรงผลป้าน คือด้านขั้วผลเล็กและขยายออกด้านท้ายผล เปลือกผลสีเขียว เมื่อสุกเนื้อออกสีแดงปนส้ม เนื้อหนาเนื้อแน่น มีเมล็ดมากรสหวาน
4. พันธุ์จำปาดะ เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นอวบแข็งแรง ออกดอกติดผลช้ากว่าพันธุ์โกโก้และพันธุ์แขกดำ ใบและก้านใบออกสีเขียวอ่อน ผลมีขนาดยาว ผลดิบมีสีเขียวอ่อนผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อค่อนข้างบางกว่าพันธุ์อื่นและเนื้อไม่ค่อยแน่น

พันธุ์แขกดำ

มะละกอ
การปลูกมะละกอ พันธุ์มะละกอ การปลูกมะละกอ พันธุ์มะละกอ
ตอนที่ 1
พันธุ์มะละกอ
เรื่องที่ 1 ประโยชน์และความสำคัญ
มะละกอเป็นพืชที่เป็นได้ทั้งผักและผลไม้ โดยผล ดิบส่วนใหญ่จะใช้ เป็นผัก ที่ทำ ประโยชน์หรือ ทำอาหาร ได้มากมาย ส่วนผลสุกใช้เป็น ผลไม้ มีรสชาติอร่อย และยังมีวิตามินสูงอีกด้วย
เรื่องที่ 2 พันธุ์ที่นิยมปลูก
ถึงแม้ว่ามะละกอจะมีมากมายหลายพันธุ์ แต่เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีความ ไว่ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์เท่านั้นที่เหมาะกับสภาพดินฟ้า อากาศของบ้านเรา คือ พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์แขกดำ พันธุ์โกโก้ และพันธุ์สายน้ำผึ้ง
เรื่องที่ 3 การคัดเลือกและการขยายพันธุ์
มะละกอขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การปักชำ การติดตา การตอนกิ่ง แต่ส่วนมากจะนิยมการขยายพันธุ์แบบเพาะเมล็ดมากกว่า เพราะทำได้ง่าย สะดวก และได้ต้นที่แข็งแรง ไม่โค่นล้มง่าย ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะ ผู้ปลูกจะต้องคัดเลือก มาเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่ากับการลงทุน
การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
เมล็ดที่จะนำมาใช้ทำพันธุ์จะต้องได้จากผลที่สุกเต็มที่ และควรเป็นผลที่ได้จากต้นกะเทย เพราะจะได้ผลผลิตที่สูงกว่า เมล็ดที่ได้มาจากผลสุกสามารถนำไปเพาะได้ทันทีโดย ไม่ต้องนำไปตากแดดก็ได้ แต่ควรล้างเนื้อเยื่อออกให้สะอาด แต่ถ้าหากต้องการเก็บ เมล็ดไว้นาน ควรตากเมล็ดให้แห้งเสียก่อน โดยการหมักเมล็ดสด ๆ ไว้ในถุงพลาสติก เก็บไว้ในร่ม 2-5 วัน จากนั้นจึงนำเมล็ดมาล้างให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งแดดประมาณ 2-3 แดด ก็จะให้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ได้นานถึง 6
น้ำมะละกอ..ช่วยย่อยอาหาร
นำไปปั่นทำน้ำมะละกอ
มะละกอ ผลไม้ยืนต้น ปลูกในระยะเวลาอันสั้นก็ผลิดอกออกผลให้รับประทานกัน มะละกอเมื่อดิบรับประทานเป็นผัก แต่เมื่อสุกก็กินเป็นผลไม้ได้อร่อย เนื้อจะเปลี่ยนจากสีเขียวกรอบเป็นสีส้มแดง สารสีส้มนี้มีชื่อว่า แคโรทีนอยด์ (carotenoid) เนื้อมะละกอสุกมีรสหวาน เนื้อนุ่มอร่อย มะละกอซื้อหารับประทานได้ตลอดทั้งปี สนนราคาถูก มะละกอพันธุ์ที่นิยมรับประทานเป็นผลไม้ก็มี มะละกอฮาวาย เป็นมะละกอลูกกลมเล็ก มะละกอโกโก้ และมะละกอแขกดำ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมรับประทานกันมากที่สุด เพราะเนื้อมีสีแดง รสหวาน เนื้อไม่เละ
มะละกอ นอกจากรับประทานเป็นผลไม้ได้อร่อยแล้ว ยังนำไปทำเป็นน้ำมะละกอ หรือน้ำมะละกอผสมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่นๆก็ได้รสดียิ่ง น้ำมะละกอใช้ดื่มหลังอาหารจะช่วยย่อยอาหาร เพราะในเนื้อมะละกอนี้จะมีเอนไซม์ช่วยย่อยสารโปรตีนที่ชื่อว่า "ปาเปอีน" ไม่เพียงเท่านี้ น้ำมะละกอยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น ทำความสะอาดไต ช่วยให้เลือดแข็งตัว และยังเป็นยาระบายอ่อนๆอย่างดีอีกด้วย
มะละกอสุกชิ้นขนาดกลาง อุดมไปด้วยคุณค่าอาหารที่มีประโยชน์ คือ แคลเซียม 61 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 49 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลลิกรัม โซเดียม 9 มิลลิกรัม โปรแตสเซียม 711 มิลลิกรัม วิตามินเอ 5,320 I.U. วิตามินซี 170 มิลลิกรัม และแมกนีเซียม 31 มิลลิกรัม
การเลือกซื้อมะละกอเพื่อนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม ควรจะเลือกมะละกอที่สุกกำลังดี เนื้อไม่แข็ง หรือเละจนเกินไป มีเนื้อสีแดง เนื้อเนียน รสหวาน ถ้าเป็นพันธุ์แขกดำได้ยิ่งดี เพราะเครื่องดื่มที่ออกมาจะมีสีแดงสวย ก่อนทำน้ำมะละกอต้องล้างน้ำให้สะอาด ผ่าครึ่ง ใช้ช้อนตักเมล็ดออก จากนั้นก็ฝานเอาเปลือกออก หั่นเป็นชิ้น แล้วจึง
น้ำมะละกอ
วิธีทำ มะละกอสุกหั่นเอาแต่เนื้อ 1/2 ถ้วย น้ำเย็นจัด 1 ถ้วย อบเชยป่น 1/8 ช้อนชา เกลือป่น 1/2 ช้อนชา น้ำมะนาว 2 ช้อนชา ปั่นมะละกอกับน้ำเย็นจัด เกลือ น้ำมะนาวเข้าด้วยกัน รินใส่แก้ว โรยด้วยอบเชยปั่น แต่ด้วยใบสะระแหน่ ดื่มเย็นๆทันทีจะอร่อย
น้ำมะละกอผสมน้ำสับปะรด
วิธีทำ
น้ำมะละกอตามสูตร 1/2 ถ้วย น้ำสับปะรด 1/2 ถ้วย เกลือป่น 1/8 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ปั่นส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน รินใส่แก้ว แช่จนเย็นจัด แต่งด้วยสับปะรดหั่นเป็นชิ้น มะนาวหั่นแว่น และยอดสะระแหน่
ตอนที่ 2
วิธีการปลูก
เรื่องที่ 1 การเตรียมพื้นที่
มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ ขัง แฉะ เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความ ทนทาน ต่อการถูกน้ำท่วม ถ้ามีน้ำท่วมโคนต้น เพียง 1-2 วัน จะชะงักการเจริญเติบโตและ อาจตายได้ แต่อย่างไรก็ตามจะขาด น้ำไม่ได้ดังนั้น พื้นที่ที่ จะปลูก มะละกอ ควรเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึงและควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย ถ้าหากเป็นที่ลุ่มควรทำแปลง ปลูกแบบยกร่องสำหรับการเตรียมดินปลูก ก่อนอื่นต้องกำจัดวัชพืชออกให้หมดแล้ว ทำการพรวนดิน อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ไถดินก้อนโต ๆ ทิ้งให้ตากแดดจนแห้งดีแล้ว จึงไถพรวนย่อยดินอีกครั้ง ถ้าดินปลูกไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยให้แก่ดิน โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อน แล้วไถกลบลง ดินให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ในดิ
เรื่องที่ 2 การเตรียมหลุมปลูก
หลุมที่ใช้ปลูกมะละกอควรขุดให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณด้านละ 50 เซนติเมตร ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมให้ปล่อยตากแดด ทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงย่อยให้ละเอียด ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ แล้วจึงกลบดินลงหลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าหรือเมล็ดมะละกอลงปลูกระยะห่าง 3ด3 เมตร
สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรทำการปลูกแบบยกร่อง โดยทำเป็นร่องขนาดกว้าง 3-4 เมตร คูน้ำระหว่างร่องกว้างประมาณ 1 เมตร แล้วทำการเตรียมดินและหลุมต่อไป
เรื่องที่ 3 วิธีการปลูก
มะละกอสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ที่นิยมกันคือปลูกในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน การนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ดินแตกออกจากราก และไม่ให้รากขาด เมื่อวางต้นกล้าลงหลุมปลูกแล้ว ให้กลบดินรอบโคนต้น กดให้แน่นให้ระดับดินในหลุมปลูกเสมอกับระดับดินเดิมที่ติดมากับต้นกล้า อย่ากลบโคนต้นสูงกว่ารอยดินเดิม จะทำให้เป็นโรคโคนเน่า เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอย่างอื่นคลุมบังแดดประมาณ 7-10 วัน รดน้ำทุกเช้า อย่าให้ขาดน้ำ ถ้าขาดน้ำในระยะนี้ต้นจะแคระแกร็น โตช้า และให้ผลช้าด้วย
ตอนที่ 1
พันธุ์มะละกอ
เรื่องที่ 1 ประโยชน์และความสำคัญ
มะละกอเป็นพืชที่เป็นได้ทั้งผักและผลไม้ โดยผล ดิบส่วนใหญ่จะใช้ เป็นผัก ที่ทำ ประโยชน์หรือ ทำอาหาร ได้มากมาย ส่วนผลสุกใช้เป็น ผลไม้ มีรสชาติอร่อย และยังมีวิตามินสูงอีกด้วย
เรื่องที่ 2 พันธุ์ที่นิยมปลูก
ถึงแม้ว่ามะละกอจะมีมากมายหลายพันธุ์ แต่เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีความ ไว่ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์เท่านั้นที่เหมาะกับสภาพดินฟ้า อากาศของบ้านเรา คือ พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์แขกดำ พันธุ์โกโก้ และพันธุ์สายน้ำผึ้ง
เรื่องที่ 3 การคัดเลือกและการขยายพันธุ์
มะละกอขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การปักชำ การติดตา การตอนกิ่ง แต่ส่วนมากจะนิยมการขยายพันธุ์แบบเพาะเมล็ดมากกว่า เพราะทำได้ง่าย สะดวก และได้ต้นที่แข็งแรง ไม่โค่นล้มง่าย ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะ ผู้ปลูกจะต้องคัดเลือก มาเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่ากับการลงทุน
การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
เมล็ดที่จะนำมาใช้ทำพันธุ์จะต้องได้จากผลที่สุกเต็มที่ และควรเป็นผลที่ได้จากต้นกะเทย เพราะจะได้ผลผลิตที่สูงกว่า เมล็ดที่ได้มาจากผลสุกสามารถนำไปเพาะได้ทันทีโดย ไม่ต้องนำไปตากแดดก็ได้ แต่ควรล้างเนื้อเยื่อออกให้สะอาด แต่ถ้าหากต้องการเก็บ เมล็ดไว้นาน ควรตากเมล็ดให้แห้งเสียก่อน โดยการหมักเมล็ดสด ๆ ไว้ในถุงพลาสติก เก็บไว้ในร่ม 2-5 วัน จากนั้นจึงนำเมล็ดมาล้างให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งแดดประมาณ 2-3 แดด ก็จะให้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ได้นานถึง 6
น้ำมะละกอ..ช่วยย่อยอาหาร
นำไปปั่นทำน้ำมะละกอ
มะละกอ ผลไม้ยืนต้น ปลูกในระยะเวลาอันสั้นก็ผลิดอกออกผลให้รับประทานกัน มะละกอเมื่อดิบรับประทานเป็นผัก แต่เมื่อสุกก็กินเป็นผลไม้ได้อร่อย เนื้อจะเปลี่ยนจากสีเขียวกรอบเป็นสีส้มแดง สารสีส้มนี้มีชื่อว่า แคโรทีนอยด์ (carotenoid) เนื้อมะละกอสุกมีรสหวาน เนื้อนุ่มอร่อย มะละกอซื้อหารับประทานได้ตลอดทั้งปี สนนราคาถูก มะละกอพันธุ์ที่นิยมรับประทานเป็นผลไม้ก็มี มะละกอฮาวาย เป็นมะละกอลูกกลมเล็ก มะละกอโกโก้ และมะละกอแขกดำ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมรับประทานกันมากที่สุด เพราะเนื้อมีสีแดง รสหวาน เนื้อไม่เละ
มะละกอ นอกจากรับประทานเป็นผลไม้ได้อร่อยแล้ว ยังนำไปทำเป็นน้ำมะละกอ หรือน้ำมะละกอผสมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่นๆก็ได้รสดียิ่ง น้ำมะละกอใช้ดื่มหลังอาหารจะช่วยย่อยอาหาร เพราะในเนื้อมะละกอนี้จะมีเอนไซม์ช่วยย่อยสารโปรตีนที่ชื่อว่า "ปาเปอีน" ไม่เพียงเท่านี้ น้ำมะละกอยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น ทำความสะอาดไต ช่วยให้เลือดแข็งตัว และยังเป็นยาระบายอ่อนๆอย่างดีอีกด้วย
มะละกอสุกชิ้นขนาดกลาง อุดมไปด้วยคุณค่าอาหารที่มีประโยชน์ คือ แคลเซียม 61 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 49 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลลิกรัม โซเดียม 9 มิลลิกรัม โปรแตสเซียม 711 มิลลิกรัม วิตามินเอ 5,320 I.U. วิตามินซี 170 มิลลิกรัม และแมกนีเซียม 31 มิลลิกรัม
การเลือกซื้อมะละกอเพื่อนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม ควรจะเลือกมะละกอที่สุกกำลังดี เนื้อไม่แข็ง หรือเละจนเกินไป มีเนื้อสีแดง เนื้อเนียน รสหวาน ถ้าเป็นพันธุ์แขกดำได้ยิ่งดี เพราะเครื่องดื่มที่ออกมาจะมีสีแดงสวย ก่อนทำน้ำมะละกอต้องล้างน้ำให้สะอาด ผ่าครึ่ง ใช้ช้อนตักเมล็ดออก จากนั้นก็ฝานเอาเปลือกออก หั่นเป็นชิ้น แล้วจึง
น้ำมะละกอ
วิธีทำ มะละกอสุกหั่นเอาแต่เนื้อ 1/2 ถ้วย น้ำเย็นจัด 1 ถ้วย อบเชยป่น 1/8 ช้อนชา เกลือป่น 1/2 ช้อนชา น้ำมะนาว 2 ช้อนชา ปั่นมะละกอกับน้ำเย็นจัด เกลือ น้ำมะนาวเข้าด้วยกัน รินใส่แก้ว โรยด้วยอบเชยปั่น แต่ด้วยใบสะระแหน่ ดื่มเย็นๆทันทีจะอร่อย
น้ำมะละกอผสมน้ำสับปะรด
วิธีทำ
น้ำมะละกอตามสูตร 1/2 ถ้วย น้ำสับปะรด 1/2 ถ้วย เกลือป่น 1/8 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ปั่นส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน รินใส่แก้ว แช่จนเย็นจัด แต่งด้วยสับปะรดหั่นเป็นชิ้น มะนาวหั่นแว่น และยอดสะระแหน่
ตอนที่ 2
วิธีการปลูก
เรื่องที่ 1 การเตรียมพื้นที่
มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ ขัง แฉะ เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความ ทนทาน ต่อการถูกน้ำท่วม ถ้ามีน้ำท่วมโคนต้น เพียง 1-2 วัน จะชะงักการเจริญเติบโตและ อาจตายได้ แต่อย่างไรก็ตามจะขาด น้ำไม่ได้ดังนั้น พื้นที่ที่ จะปลูก มะละกอ ควรเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึงและควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย ถ้าหากเป็นที่ลุ่มควรทำแปลง ปลูกแบบยกร่องสำหรับการเตรียมดินปลูก ก่อนอื่นต้องกำจัดวัชพืชออกให้หมดแล้ว ทำการพรวนดิน อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ไถดินก้อนโต ๆ ทิ้งให้ตากแดดจนแห้งดีแล้ว จึงไถพรวนย่อยดินอีกครั้ง ถ้าดินปลูกไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยให้แก่ดิน โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อน แล้วไถกลบลง ดินให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ในดิ
เรื่องที่ 2 การเตรียมหลุมปลูก
หลุมที่ใช้ปลูกมะละกอควรขุดให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณด้านละ 50 เซนติเมตร ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมให้ปล่อยตากแดด ทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงย่อยให้ละเอียด ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ แล้วจึงกลบดินลงหลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าหรือเมล็ดมะละกอลงปลูกระยะห่าง 3ด3 เมตร
สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรทำการปลูกแบบยกร่อง โดยทำเป็นร่องขนาดกว้าง 3-4 เมตร คูน้ำระหว่างร่องกว้างประมาณ 1 เมตร แล้วทำการเตรียมดินและหลุมต่อไป
เรื่องที่ 3 วิธีการปลูก
มะละกอสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ที่นิยมกันคือปลูกในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน การนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ดินแตกออกจากราก และไม่ให้รากขาด เมื่อวางต้นกล้าลงหลุมปลูกแล้ว ให้กลบดินรอบโคนต้น กดให้แน่นให้ระดับดินในหลุมปลูกเสมอกับระดับดินเดิมที่ติดมากับต้นกล้า อย่ากลบโคนต้นสูงกว่ารอยดินเดิม จะทำให้เป็นโรคโคนเน่า เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอย่างอื่นคลุมบังแดดประมาณ 7-10 วัน รดน้ำทุกเช้า อย่าให้ขาดน้ำ ถ้าขาดน้ำในระยะนี้ต้นจะแคระแกร็น โตช้า และให้ผลช้าด้วยการเพาะเมล็ด หลายครั้งสร้างความสงสัยอย่างมากให้กับผู้ปลูก เนื่องจากการเพาะมีกระบวนการที่แตกต่างกันไปหลากวิธี บ้างเพาะง่าย บ้างเพาะยาก ลองไปดูส่วนประกอบของเมล็ด และปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดกัน รวมถึงวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ด เพื่อให้เมล็ดงอกได้เร็วยิ่งขึ้น
ส่วนประกอบของเมล็ด ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
1. เปลือกหุ้มเมล็ด
2. คัพภะ ประกอบด้วย ใบเลี้ยง ตายอด ต้นอ่อน และราก
3. อาหารสะสมในเมล็ด
การงอกของเมล็ด
เมล็ดพืช ประกอบด้วยส่วนซึ่งเป็นคัพภะ ส่วนที่เป็นอาหารสะสมภายในเมล็ด และเปลือกหุ้มเมล็ด หลังจากที่เมล็ดถูกแยกออกจากต้นแม่แล้ว เมล็ดจะอยู่ในสภาพหยุดการเจริญเติบโตช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเอาเมล็ดมาไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คัพภะที่อยู่ภายใน จะเจริญเป็นต้นพืชใหม่ กระบวนการที่คัพภะภายในเมล็ดเจริญเป็นต้นใหม่นี้ เรียกว่า “การงอก” ต้นพืชที่เจริญมาจากคัพภะในขณะที่เป็นต้นอ่อนอยู่ ยังต้องอาศัยอาหารที่เก็บไว้ภายในเมล็ด เรียกว่า “ต้นกล้า”
ปัจจัยในการงอกของเมล็ด
เมล็ดที่จะงอกได้ จะต้องมีปัจจัยที่เหมาะสม ทั้งเมล็ด และสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนี้
1. การมีชีวิตของเมล็ด นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเมล็ด การที่เมล็ดมีชีวิตอยู่ได้น้อย อาจเนื่องจากการเจริญเติบโตของเมล็ด ไม่เหมาะสมขณะที่ยังอยู่บนต้นแม่ หรือเนื่องจากได้รับอันตราย ขณะทำการเก็บเกี่ยว หรือขบวนการในการผลิตเมล็ดไม่ดีพอ
2. สภาพแวดล้อมในขณะเพาะ เมล็ดต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดังนี้
2.1 น้ำ เป็นตัวทำให้เปลือกเมล็ดอ่อนตัว และเป็นตัวทำละลายอาหารสะสมภายในเมล็ด ที่อยู่ในสภาวะที่เป็นของแข็ง ให้เปลี่ยนเป็นของเหลง และเคลื่อนที่ได้ ทำให้จุดเจริญของเมล็ดนำไปใช้ได้
2.2 แสง เมล็ดเมื่อเริ่มงอก จะมีทั้งชนิดที่ต้องการแสง ชอบแสง และไม่ต้องการแสง ส่วนใหญ่เมล็ดเมื่อเริ่มงอก จะไม่ต้องการแสง ดังนั้น การเพาะเมล็ดโดยทั่วไป จึงมักกลบดินปิดเมล็ดเสมอ แต่แสงจะมีความจำเป็น หลังจากที่เมล็ดงอกแล้ว ขณะที่เป็นต้นกล้า แสงที่พอเหมาะจะทำให้ต้นกล้าแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดี
2.3 อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสม ช่วยให้เมล็ดดูดน้ำได้เร็วขึ้น กระบวนการในการงอกของเมล็ดเกิดขึ้นเร็ว และช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิด จะไม่เท่ากัน พืชเมืองร้อน ย่อมต้องการอุณหภูมิสูงกว่า พืชเมืองหนาวเสมอ
2.4 อ๊อกซิเจน เมื่อเมล็ดเริ่มงอก จะเริ่มหายใจมากขึ้น ซึ่งก็ต้องใช้อ๊อกซิเจน ไปเผาผลาญอาหารภายในเมล้ด ให้เป็นพลังงานใช้ในการงอก ยิ่งเมล็ดที่มีมันมาก ยิ่งต้องใช้อีอกซิเจนมากขึ้น ดังนั้น การกลบดินทับเมล็ดหนาเกินไป หรือใช้ดินเพาะเมล็ด ที่ถ่ายเทอากาศไม่ดี จะมีผลยับยั้งการงอก หรือทำให้เมล็ดงอกช้าลง หรือไม่งอกเลย
การพักตัวของเมล็ด
การพักตัวของเมล็ด หมายถึง ช่วงที่เมล็ดพืชยังไม่พร้อมที่จะงอกขึ้นเป็นต้นพืชใหม่ได้ ดังนั้นการเพาะเมล็ดบางชนิด อาจต้องทำลายการพักตัวของพืชก่อน เพื่อให้เมล็ดงอกได้เร็วยิ่งขึ้น
วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ด
1. ลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก วิธีการนี้ ทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น กว่าวิธีการเพาะเมล็ดทั้งเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งวิธีการลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้เป็นอันตรายต่อเมล็ดภายใน เพราะอาจทำให้การงอกของเมล็ดสูญเสียไปได้ พืชที่นิยมลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก ได้แก่ มะม่วง
2. ฝนเมล็ด เป็นการทำให้เปลือกแข็งหุ้มเมล็ด เกิดเป็นรอยด้าน โดยการฝนเมล็ดลงบนกระดาษทราย หรือหินฝน ไม่ควรฝนลึกเกินไป และอย่าฝนตรงจุดที่เป็นที่อยู่ของคัพภะ วิธีนี้จะช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น
3. การกะเทาะเอาเมล็ดออก นิยมทำกับพืช ที่มีเมล็ดแข็ง เมื่อกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดแตกออกแล้ว จึงค่อยนำเมล็ดอ่อนภายใน ไปทำการเพาะ วิธีนี้จะช่วยให้ เมล็ดพืชงอกได้เร็วกว่าวิธีการเพาะแบบไม่กะเทาะเปลือกหุ้ม เมล็ดพืชที่จะต้องทำการกะเทาะเมล็ดก่อนเพาะ ได้แก่ บ๊วย พุทรา สมอจีน
4. การตัดปลายเมล็ด เป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้เมล็ดพืช งอกได้เร็วกว่าปกติ โดยตัดเปลือกหุ้มเมล็ดทางด้านตรงข้ามกับด้านหัวของคัพภะ และอย่าตัดให้เข้าเนื้อของเมล็ด นิยมใช้กับพืชที่มีเมล็ดแข็ง เช่น เหรียง หางนกยูงฝรั่ง
5. การแช่น้ำ การนำเมล็ดไปแช่น้ำ จะช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วกว่าปกติ ทั้งนี้เพราะน้ำ จะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จึงเป็นการช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น น้ำที่ใช้แช่อาจจะเป็นน้ำอุ่น หรือน้ำเย็น และช่วงเวลาการแช่ จะช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับชนิดพืช พืชบางชนิดใช้เวลานานถึง 1 – 2 วัน บางชนิดใช้เวลาประมาณ 6 – 12 ชั่วโมง ทั้งนี้สังเกตจาก ขนาดของเมล็ดขยายใหญ่และเต่งขึ้น หรือเปลือกหุ้มเมล็ดนิ่ม ก็นำไปเพาะได้ พืชที่นิยมใช้วิธีนี้ ได้แก่ น้อยหน่า มะขาม มะละกอ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าว ผักชี
มะละกอ (Papaya) เป็นผลไม้ไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของมะละกอมีมากมายไม่ว่าจะนำมาทำเป็นอาหารเช่น แกงส้มมะละกอ ทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นชามะละกอ หรือแม้แต่นำผลสุกมาปอกกินเล่นก็ยังมีประโยชน์ช่วยให้ขับถ่ายง่ายป้องกันท้องผูก อีกทั้งมะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่ายการปลูกมะละกอไม่ต้องการการดูแลมากอาศัยพื้นที่ว่างบริเวณรั้วบ้านก็ใช้เป็นที่ปลูกมะละกอได้แล้วเพียงแต่ต้องคอยระวังอย่าให้มีน้ำท่วมในบริเวณที่ปลูกมะละกอก็พอ ยอมเสียพื้นที่ในการปลูกมะละกอไว้แถวบริเวณบ้านสัก 1-2 ต้นรับรองว่าประโยชน์ของมะละกอที่ได้รับจะคุ้มเกินคุ้มอย่างแน่นอน
มะละกอ (Papaya) เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นจะอ่อน ลักษณะผลของมะละกออาจมีรูปร่างทั้งเป็นลูกกลมหรือทรงยาวรีแล้วแต่พันธุ์ของมะละกอ มะละกอที่ยังดิบอยู่เปลือกนอกจะมีสีเขียวพอผลมะละกอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกส้ม มะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบให้มีน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้ มะละกอเป็นพืชที่นิยมปลูกในบริเวณรั้วบ้านวิธีการปลูกมะละกอทำได้ง่ายเพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมากนักและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร หากมีต้นมะละกอในบริเวณบ้านระวังอย่าให้น้ำท่วมก็พอ ประโยชน์ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้นเลยทีเดียว
ประโยชน์ของมะละกอ เริ่มจากส่วนที่เป็นใบและยอดของมะละกอนำมาใช้ปรุงอาหารได้ ส่วนของลำต้นมะละกอภายในจะเป็นเนื้อสีขาวครีมลักษณะเนื้อจะอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนที่เราสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนกันจะเป็นการดองเค็มหรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ ประโยชน์ของมะละกอเมื่อใช้ปรุงเป็นอาหารจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี (Vitamin A B C) ธาตุเหล็กและแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น
ประโยชน์ของมะละกอดิบ ผลดิบของมะละกอที่มีเปลือกสีเขียวนั้นภายในจะมียางสีขาวข้นเรียกกันว่ายางมะละกอ สรรพคุณของยางมะละกอใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วขึ้นเมื่อต้มและหากนำยางมะละกอไปสกัดเป็นเอนไซม์ที่มีชื่อว่าปาเปอีน (Papain Enzyme) สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้อีกด้วย ประโยชน์ของมะละกอดิบยังใช้เป็นยาสมุนไพร (Herb) เป็นยาระบายอ่อนๆช่วยในการขับปัสสาวะหรือจะนำผลมะละกอดิบไปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรคือ “ชามะละกอ” ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมันเป็นประจำ เมื่อชามะละกอช่วยล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ออกไปแล้วจะทำให้ระบบดูดซึมสารอาหารทำงานได้เต็มที่
ประโยชน์ของมะละกอที่เห็นอยู่ทุกวันคือการนำไปปรุงเป็นอาหารคือ ส้มตำ (Papaya Salad) ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่วนผลมะละกอสุกสามารถปอกกินเป็นผลไม้ได้เลย ประโยชน์ของมะละกอที่เป็นผลสุกคือช่วยบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหารเป็นยาระบายอ่อนๆทำให้ระบบขับถ่ายดีไม่มีอาการท้องผูก ผลมะละกอสุกยังสามารถนำไปทำเป็น “น้ำมะละกอ” ได้อีกเอนไซม์ปาเปอีน (Papain Enzyme) ที่อยู่ในผลมะละกอจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ประโยชน์ของมะละกอสุกยังมีสารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือเบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยซึ่งเป็นประโยชน์ของมะละกอในด้านความสวยความงามนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น